วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กลอนเเปด


  จำเรียงรักษ์อักษรผ่านกลอนกาพย์
เพราะซึ้งซาบรสกวีศรีสยาม
"สุนทรภู่"ครูกลอนกระฉ่อนนาม
ทั่วเขตคามใครอ่านซ่านอารมณ์
ทั้งแว่วหวานตาลหยดจนมดไต่โอดอาลัยโศกเศร้าเคล้าทุกข์ถม
ไหลลดเลี้ยวทะเล้นล้อโลมลมพอกเพาะบ่มสั่งสอนแทรกซ้อนธรรม
เสริมคติชี้นำย้ำให้คิดเมื่อชีวิตตกยุคทุกข์กระหน่ำ
บอกสาเหตุเจตนาพาระกำคนอ่านนำประยุกต์ใช้ได้ทุกครา
ยอดนิราศปราชญ์นิทานคนขานกล่าวจินตกวีเรื่องราวจนกังขา
ไม่เคยพบไม่เคยเห็นเป็นบุญตากลับเกิดมาชี้ชัดปัจจุบัน
ซึ้งพระคุณครูกลอนที่สอนศิษย์จึงอุทิศใจกายหมายมุ่งมั่น
สืบอักษรกลอนครูอยู่นิรันดร์ แพร่วงวรรณศาสตร์ศิลป์ทั่วถิ่นไทย
ครูภาทิพ มิถุนายน ๒๕๔๘
 ิ                                                                                                                                                                                    

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ภาษาไทย ม.3 บทที่9 กรุงเทพฯ เมื่อร้อยกว่าปี

      ย้อน กลับไปครั้งกรุงเทพฯยังเรียกกันว่าบางกอก เปิดเมืองค้าขายกับชาวต่างชาติ พวกยุโรปเข้ามามีบทบาทในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสยามเป็นอย่างมาก ภาพพจน์ของประเทศสยามในสายตาของชาวต่างชาติในยุคนั้น จะเป็นอย่างไร ลองไปดูภาพกัน

                ภาพ พระบรมมหาราชวัง บริเวณท่ามหาราช เป็นมุมมองที่เด่นที่สุดมาถึงปัจจุบัน แต่สมัยก่อนมีเรือแจว เรือพายเยอะหน่อย แต่ปัจจุบันสูญหายไปทั้งเรือ ทั้งแพ ไม่ใช่จากการใช้งานที่ไม่สะดวกหลอกครับ สาเหตุหนึ่งจากเรือหางยาวนี่แหละ เพราะเรือหางยาววิ่งเร็ว เกิดคลื่นกระทบแรง เรือไม่มีเครื่องก็จะโคลงมาก แพก็จะโดนคลื่นซัดเสียหาย จึงไม่นิยมใช้และสูญหายไปในที่สุด
 
                หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ ลีลลูสตราซียง (
L' Illustration) ได้ นำเสนอเรื่องราวของประเทศสยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เป็นสารคดีประกอบภาพลายเส้น เล่าเรื่องราวสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมประเพณีไทย ในสมัยนั้น โดยบุคคลหรือนักหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นคือนายฟูร์เนอโร (Monsieur Fournereau) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยศิลปะ L' Ecole des Beaux-Arts 


            ฟู ร์เนอโร ได้เข้ามาศึกษาสภาพสังคมและอารยะธรรมของสยามประเทศอยู่ด้วยกันหลายครั้ง และเขาก็ต้องตื่นตะลึงกับพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่พิธีหนึ่ง นั่นคือ พระราชพิธีปลงพระศพของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่มีขึ้นในช่วงเวลาของวันที่ ๙ ถึง ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๑ โดยมีขบวนเกียรติยศ และประชาชนเข้าร่วมในพระราชพิธีนี้อย่างล้นหลาม และพระราชพิธีถวายพระเพลิงศพ ณ พระเมรุมาศ ก็จัดได้สมพระเกียรติมาก
 




        สภาพเรือนแพริมน้ำทั่วไป

        ใน ปีพ.ศ.๑๔๓๔ ฟูร์เนอโร ได้เดินทางเข้ามากระเทศสยามอีกครั้ง เพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย เขาได้เก็บข้อมูลอย่างละเอียด โดยวาดภาพและถ่ายภาพคนไทย และศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เขาสนใจกับพระปรางค์วัดแจ้งเป็นอย่างมาก ด้วยความสูงตระหง่านงดงาม และมีชื่อเสียงเลื่องลือไปในแดนไกล (สมัยนั้น สิ่งก่อสร้างที่สูงขนาดนี้ก็จัดได้ว่าเป็นตึกระฟ้า ได้ทีเดียว) นอกจากนี้เขายังศึกษาเรื่องศาสนาและราชอาณาจักรสยามโบราณเป็นพิเศษ
 
 




เรือเดินทะเลของฝรั่งเศสชื่อ ลูแตง จอดอยู่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส ที่ติดกับโรงแรมโอเรียนเตลในปัจจุบัน
 
            ใน ปีพ.ศ.๒๔๓๖ หนังสือพิมพ์ ลีลลูสตราซียง ได้ตีพิมพ์เรื่องราวของประเทศสยามว่า มีบางกอกเป็นเมืองหลวง เป็นที่ตั้งของพระราชวังของพระมหากษัตริย์ไทย เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การค้า และศาสนา บางกอกมีประชากรประมาณ 
500,000 คน เป็นเมืองที่สกปรก มีขยะและกลิ่นเหม็น ซึ่งจะพบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นพื้นดินหรือแม่น้ำลำคลอง (นี่ แสดงว่านิสัยมักง่ายของคนไทยนั้นมีมานานแล้วนะ อายเขาไหมล่ะ ) สำหรับทัศนียภาพที่พบเห็นได้ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลอง ก็มียวดยานพาหนะทางน้ำเช่น เรือกำปั่น เรือพายเป็นต้น และเรือนแพสำหรับค้าขายและพักอาศัยก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนบริเวณถนนเจริญกรุง ช่วงบางคอแหลม ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบางกอก ก็มีบ้านเรือนขนาดเล็กเรียงรายอยู่ทั่วไป 

        ขบวนแห่พระศพของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ในพิธีปลงพระศพ มีขบวนเกียรติยศและประชาชนเข้าร่วมพิธีอย่างล้นหลาม
 
       ฟู ร์เนอโร ยังได้รายงานอีกว่า สยามเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา แต่คนไทยก็มีเสรีภาพที่จะนับถือศาสนาอื่นๆได้เช่นกัน นอกจากนี้เขายังได้ไปชมวัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ และวัดสระเกศอีกด้วย จึงได้ภาพของการเผาศพที่เกิดจากโรคระบาด ไปนำเสนอ
 

พระเมรุมาศที่ตั้งพระศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
 
        นอก จากในบางกอกแล้ว ฟูร์เนอโร ยังได้แสดงความเห็นว่า ต่างจังหวัดก็ยังมีสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย กรุงเทพฯผ่านกาลเวลามา 
100 กว่า ปีก็ย่อมมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดาของการพัฒนา แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้เปลี่ยนไปและไม่ควรเปลี่ยนไป คือสามัญสำนึกของคนไทย ที่ยังยึดมั่นในความเป็นไทย และซึมซับความเป็นไทยไว้ในสายเลือด เฉกเช่นบรรพบุรุษไทยที่ได้ดำรงมาเนิ่นนาน 

การทำพิธีเผาศพ ตอนนั้นอีแร้งก็ยังไม่สูญพันธ์ไปจากเมืองไทย ยืนคอยรับประทานอาหารโปรดอยู่เป็นแถว 

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา


           วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่ง วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ประวัติวันวิสาขบูชา ความสําคัญ วันวิสาขบูชา หมายถึง อะไรเรามีคำตอบ
           วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าครับ

 ความหมายของ วันวิสาขบูชา

         
 คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

 การกำหนด วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

          อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...

 1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
           เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

          เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส